วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

1.การเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน

ด้วยข่าวคราวความเคลื่อนไหว เรื่องการปราบปรามการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนในองค์กร ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในเวลานี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้บริหารจะตรวจตราการใช้ซอฟต์แวร์ในองค์กรของตนอีกสักครั้ง สำหรับผู้นำองค์กร และผู้บริหารระดับสูงแล้ว ส่วนใหญ่จะถนัดเจรจาต่อรองปิดการขาย มากกว่าการเลือกซื้อหาซอฟต์แวร์ ภาระหน้าที่สำคัญนี้จึงมักตกอยู่กับแผนกไอที

ซึ่งผู้จัดการแผนกไอทีเอง ก็ไม่ควรทำเพียงแค่ตรวจรับซอฟต์แวร์ที่ผู้ขายนำมาส่งมอบ แต่จำเป็นต้องดูให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ต้องการซื้อ สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้ครบถ้วนหรือไม่ ไม่ว่าซอฟต์แวร์นั้นจะเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ หรือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ก็ตาม ล้วนมีความจำเป็นที่ต้องนำปัจจัยต่างๆ มาประเมินอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะไม่เช่นนั้น สิ่งสุดท้ายที่องค์กรต้องเผชิญ คือ การซื้อซอฟต์แวร์มาแล้ว แต่ไม่สามารถใช้งานได้ตามต้องการ ในบางประเทศ รัฐบาลคิดนำนโยบาย และกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบแก่ซอฟต์แวร์บางจำพวกมาใช้ ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้ซื้อเฉพาะซอฟต์แวร์บางจำพวกในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง หรือในนโยบายระดับชาติอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น การให้ทุนในการวิจัย และพัฒนาแก่ซอฟต์แวร์เฉพาะจำพวกหนึ่ง การนำนโยบายเหล่านี้มาใช้อาจเป็นเพราะรัฐบาลต้องการลดค่าใช้จ่าย หรือต้องการมีผู้เสนอขายให้เลือกมากขึ้น แรงจูงใจอีกประการหนึ่ง คืออยากส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศ หรืออยากให้ตลาดในประเทศไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ อย่างไรก็ดี นโยบายเลือกซื้อเฉพาะซอฟต์แวร์บางจำพวกนี้ทำร้ายตลาด และจำกัดจำนวนซอฟต์แวร์ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการ นั่นหมายความว่าผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไม่อาจแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม และนำไปสู่การที่องค์กรจำใจต้องเลือกซื้อซอฟต์แวร์ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซอฟต์แวร์ก็เช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ ที่ต้องเลือกซื้อ โดยคำนึงถึงการใช้งานเป็นสำคัญ ไม่ใช่ความชอบส่วนตัว องค์กรต่างๆ ที่จัดซื้อจัดหาซอฟต์แวร์ ลำดับแรกต้องระบุวัตถุประสงค์ และความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วปล่อยให้ผู้ขายไม่ว่าจะเป็นโอเพนซอร์ซ หรือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์เสนอราคาเข้ามา การจะเลือกซื้อซอฟต์แวร์ใดนั้นควรเลือกจากคุณสมบัติ, ความสามารถในการทำงาน, การทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่,ความปลอดภัย, ความคุ้มค่า รวมทั้งราคาในการเป็นเจ้าของ ทั้งนี้การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และผู้บริโภคในระยะยาว นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะเกิดแรงจูงใจในการแข่งขันกันสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งๆขึ้น และยังเป็นการเตรียมให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในประเทศพร้อมสำหรับสภาพการแข่งขันจริงในตลาดโลก ที่ปราศจากการปกป้องของนโยบายดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ในตลาดที่ปราศจากนโยบาย ให้เลือกซื้อเฉพาะซอฟต์แวร์บางจำพวก องค์กรจะไม่ลำบากแต่กลับจะสามารถ สรรหาซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดในตลาดมาใช้ได้อย่างเสรี ด้วยความมั่นใจเต็มที่ว่าการเลือกของตนไม่ถูกจำกัดโดยปัจจัยที่ไม่ได้เป็นตัวกำหนดคุณภาพ หรือความสามารถของผลิตภัณฑ์ และการทำเช่นนั้นจะช่วยให้งานบรรลุผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน

โครงงานคอมพิวเตอร์ ที่จะทำในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นประเด็นหรือปัญหาที่นักเรียนสนใจใคร่รู้ และสามารถใช้ความรู้ ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ในระดับของนักเรียน เพื่อคิดแนวทางในการแก้ปัญหาและการพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้โครงงานคอมพิวเตอร์นั้นมีคุณค่ายิ่ง  อย่าง ไรก็ตาม เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดที่จะทำโครงงานอาจมีผู้สนใจทำมาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนามาแล้ว แต่นักเรียนก็ยังสามารถทำโครงงานดังกล่าวได้ เพียงแต่คิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้
คุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
          เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่ง ที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้น ฐานเป็นสำคัญ
การ ศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่
- สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
- การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขเป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ
- คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน
          นัก เรียนในระดับมัธยมศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อความเข้าใจความเป็นไป ของธรรมชาติในโลก ในทำนองเดียวกันนักเรียนต้องเรียนวิชาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อความเข้า ใจในสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสังคมต่าง ๆ ในยุคสารสนเทศ เนื้อหาวิชาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีเป้า หมายที่จะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการของคอมพิวเตอร์และ มีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนสามารถบรรลุ เป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์
          จุด มุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน คือการที่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกความสามารถในการนำความรู้เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งคือการที่นักเรียนได้มีโอกาสทำโครง งานคอมพิวเตอร์
          การ ทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้นัก เรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้
          1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน
          การ จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงาน คอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่ม เติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรมและลักษณะของประโยชน์หรือผลงาที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ 1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) 2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) 3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี (Theory Experiment) 4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application) 5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)